หน้าเว็บ

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กฎหมายสรรพากร (Revenue tax)

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา person income tax
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ (ต้องยื่นแบบแสดงภาษี)
1) บุคคลธรรมดา (ม.56)
2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล (ม.56) ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่น
3) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี (ม.57 ทวิ) ผู้จัดการมรดก,ทายาท, ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกยื่น
4) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง (ม.57 ทวิ ว.2) ในปีถัดไปจากข้อ 3) ถ้ากองมรดกยังมิได้แบ่ง และมีเงินได้เกิดขึ้น
รายได้ขั้นต่ำของผู้ที่ต้องยื่นแบบแสดงภาษีต่อปี
1) ผู้มีเงินได้ตาม ม.40 (1) (เงินเดือน)
-โสด = มีเงินได้เกิน 50,000 บาท/ปี
-สมรส = มีเงินได้รวมกันเกิน 100,000 บาท/ปี
2) ผู้มีเงินได้ประเภทอื่นนอกจากเงินเดือน ตาม ม.40 (1)
-โสด = มีเงินได้เกิน 30,000 บาท/ปี
-สมรส = มีเงินได้รวมกันเกิน 60,000 บาท/ปี
3) กองมรดกของผู้ตายที่ยังไม่ได้แบ่ง มีรายได้เกิดขึ้นเกินกว่า 30,000 บาท/ปี
4) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลมีรายได้เกิน 30,000 บาท/ปี

ชื่อแบบ ใช้ยื่น กรณี กำหนดเวลายื่น
ภ.ง.ด. 90 มีเงินได้พึงประเมินทุก ประเภท มกราคม - มีนาคม ของปีภาษีถัดไป
ภ.ง.ด. 91 มีเฉพาะเงินได้พึงประเมิน ประเภทที่ 1ม.40(1) ประเภทเดียว มกราคม - มีนาคม ของปีภาษีถัดไป
ภ.ง.ด. 93 มี เงินได้ขอชำระภาษีล่วงหน้า ก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่น แบบตามปกติ
ภ.ง.ด. 94 ยื่น ครึ่งปีสำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินเฉพาะประเภทที่ 5,6,7 และ 8 กรกฎาคม - กันยายน ของปีภาษีนั้น

เงินได้ประเภทต่างๆ (แบ่งเพื่อสะดวกในการคำนวนภาษี)
1.เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เงินจากตำแหน่งหรือรับทำงานให้ ประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ
หักค่าใช้จ่ายได้ 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ม.42 ทวิ
3. เงินได้เนื่องจากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือ สิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
หักค่าใช้จ่ายได้ เฉพาะค่าลิขสิทธิ์ 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ม.42 ตรี
4. เงินได้เนื่องจากดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น (ลงทุนด้วยเงิน)
ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้


5.เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก
1) การให้เช่าทรัพย์สิน
2) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
3) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดย ไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
ข้อ1) ก) หักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร (ใช้ใบเสร็จ) หรือ
ข) หักเป็นการเหมาในอัตราดังต่อนี้
1) บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง แพ (เจ้าของ = 30 %, ผู้เช่าช่วง = หักได้เฉพาะค่าเช่าเดิม)
2) ที่ดินเกษตรกรรม (เจ้าของ = 20 %, ผู้เช่าช่วง = หักได้เฉพาะค่าเช่าเดิม)
3) ที่ดินที่ไม่ใช้ในการเกษตรกรรม (เจ้าของ = 15 %, ผู้เช่าช่วง = หักได้เฉพาะค่าเช่าเดิม)
4) ยานพาหนะ = 30%
5) ทรัพย์สินอย่างอื่น = 15%
ข้อ2) หักค่าใช้จ่าย 20 %
ข้อ3) หักค่าใช้จ่าย 20 %
6.เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
ก) หักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร (ใช้ใบเสร็จ) หรือ
ข) หักเป็นการเหมาในอัตราดังต่อนี้
1) การประกอบโรคศิลป 60%
2) ไม่ใช่ประกอบโรคศิลป 30%
7.เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
ก) หักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร (ใช้ใบเสร็จ) หรือ
ข) หักเป็นการเหมาในอัตรา 70%
8.เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว
ก) หักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร (ใช้ใบเสร็จ) หรือ
ข) หักเป็นการเหมาในอัตราตามพระราชกฤษฎีกา
เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมาคิดคำนวณเสียภาษี ตาม ม.42
1) ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ซึ่งได้จ่ายไปโดยสุจริต (ตามจริง)
2) เงินค่าเดินทางสำหรับมาทำงานต่างถิ่นครั้งแรกหรือการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างสิ้นสุด
3.) เงินได้จาการขายอากรแสตมป์ หรือแสตมป์ไปรษณียากรของรัฐบาล
4) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะฝากเผื่อเรียก
5) ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์
6) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรประเภทออมทรัพย์เผื่อเรียก รวมกันไม่เกิน 10,000 บาท
7) การขายสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในการค้าหากำไร
8) เงินที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา
9) เงินได้ที่ได้รับจากมรดก
10) เงินได้ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
การหักค่าลดหย่อน ตาม ม.47
1) ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล
ก.ผู้มีเงินได้ = 30,000 บาท
ข.คู่สมรส = 30,000 บาท
ค.บุตร และบุตรบุญธรรม = คนละ 15,000 บาท รวมกันไม่เกิน 3 คน
ถ้าเรียนในไทยได้เพิ่มอีก 2,000 บาทต่อคน
**เงื่อนไข** 1) อายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ในชั้นอุดมศึกษา
2) เป็นผู้เยาว์ (ไม่เกิน 20 ปี)
3) คนที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
2) เงินที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตที่กรมธรรม์ประกัน ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
หักได้ตามจริงไม่เกิน 10,000 บาท + เกิน 10,000 บาท ถึง 90,000 บาท ตามประกาศ ฉ.172
3) เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนเลี้ยงชีพหักได้ตามจริงไม่เกิน 10,000 บาท + 90,000 ตามประกาศ ฉ.91
4) ดอกเบี้ย เงินกู้ยืม เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคาร อยู่อาศัยโดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกัน
การกู้ยืมนั้น
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท + 90,000 บาทตามประกาศ 126
5) เงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามที่จ่ายจริง
6) ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดา รวมทั้งบิดา มารดาของสามีภริยา คนละ = 30,000 บาท
**เงื่อนไข** 1) อายุ 60 ปีขึ้นไป
2) มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ
3) อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้
7) ในกรณีผู้มีเงินได้เป็นกองมรดก ลดหย่อนได้ 30,000 บาท
8) ในกรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ให้หักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
9) เงินบริจาค แต่ต้องไม่เกิน 10 % ของเงินที่เหลือ
10) อุปการะคนพิการ อีกคนละ 60,000 บาท

อัตรา ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อได้ยอดเงินได้สุทธิแล้ว นำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษี ดังนี้
เงินได้สุทธิ ช่วงเงินได้สุทธิ อัตราภาษี ภาษีแต่ละขั้นเงินได้สุทธิ ภาษีสะสม
1 - 150,000 150,000 ได้รับยก เว้น - -
150,001 - 500,000 350,000 10 35,000 35,000
500,001 - 1,000,000 500,000 20 100,000 135,000
1,000,001 - 4,000,000 3,000,000 30 900,000 1,035,000
4,000,001 บาทขึ้นไป 37

เงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี ตามม.48
1) ภาษีที่ต้องเสีย(ใช้กับทุกประเภท) = เงินได้พึงประเมิน (ไม่รวมที่ได้รับยกเว้น) – ต้นทุนแต่ละประเภท
– ค่าลดหย่อน และ X อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2) ภาษีที่ต้องเสีย(ไม่ใช้กับประเภทที่ 1 จ้างแรงงาน ถ้ามีให้ลบออก ) = ถ้าผู้มีเงินได้มีเงินได้พึงประเมิน 60,000 บาทขึ้นไปการคำนวนตามข้อ 1) ให้เสียขั้นต่ำ 0.5 % ของเงินได้พึงประเมิน
ขั้นสุดท้ายสรุปจำนวนภาษีที่ต้องชำระ
จำนวนภาษีเงินได้สิ้นปีที่ต้องเสีย เทียบ (1) และ (2) จำนวนที่สูงกว่า
หัก ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายแล้ว
หัก ภาษี เงินได้ครึ่งปีที่ชำระไว้แล้ว
หัก ภาษี เงินได้ชำระล่วงหน้า
หัก เครดิต ภาษีเงินปันผล
= ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย (หรือที่เสียไว้เกินขอคืนได้)
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ให้นายจ้างผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้ ดังต่อไปนี้
1) เงินได้ พึงประเมินประเภทที่ 1 กับ 2
2) เงินได้ พึงประเมินประเภทที่ 3 กับ 4
3) เงินได้ พึงประเมินประเภทที่ 5 กับ 6 ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งไม่ได้เป็นผู้อยู่ในไทย 15%
4) เงินได้ พึงประเมินประเภทที่ 8 เฉพาะที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์
5) ผู้จ่านเงินได้เป็นองค์การของรัฐ จ่ายเงินได้ประเภท 5-8 หักไว้ 1%
กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา
จะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระนั้น นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี เว้นแต่กรณีที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีได้ เงินเพิ่มเสียร้อยละ 0.75

2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล เสีย 30 % จากกำไร
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี เงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย ดังนี้
บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีดังนี้
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่
ก. บริษัท จำกัด
ข. บริษัทมหาชน จำกัด
ค. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ง. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่ง มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ก. เข้ามากระทำกิจการในประเทศไทย (มาตรา 66 วรรคแรก)
ข. กระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย (มาตรา 66 วรรคสอง)
ค. กระทำกิจการอื่นๆรวมทั้งในประเทศไทยและกิจการที่กระทำนั้นเป็นกิจการขนส่ง ระหว่างประเทศ
ง. มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย (มาตรา 70)
จ. ที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลใน ประเทศไทย ตามมาตรา 76 วรรคสอง และมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ได้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นที่กันไว้จากกำไร หรือถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย (มาตรา 70 ทวิ)
ฉ. มิได้เข้ามาทำกิจการในประเทศไทยโดยตรง หากแต่มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย (มาตรา 76 ทวิ)
(3) กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้า หรือหากำไร โดย
ก. รัฐบาลต่างประเทศ ข. องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
ค. นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
(4) กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ได้แก่ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไร ระหว่างบุคคล
ก. บริษัทกับบริษัท ข. บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ค. ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ง. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา
จ. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ฉ. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนสามัญ
ช. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับนิติบุคคลอื่น
(5) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถาน สาธารณกุศล
(6) นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ ของรัฐบาลหรือสหกรณ์
และนิติบุคคลอืนๆ ที่ได้รับการยกเว้นตามบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ ได้แก่
1) ตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่า ด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
2) ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลง ทุน
3 ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ ปิโตรเลียม
4) ที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการ เว้นการเก็บภาษีซ้อน
ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล
(1) กำไรสุทธิ
เสียภาษี 2 ครั้งภายในระยะเวลาบัญชี 1 รอบ(12เดือน)
ครั้งที่ 1 ภายใน 2 เดือน นับจากวันปิดบัญชีครึ่งปี ให้ประมาณการทั้งปีแล้วเสียครึ่งในอัตรา 30%
ครั้งที่ 2 ภายใน 150 วัน นับจากวันปิดรอบบัญชี
(2) ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย ใช้กับนิติบุคคลที่ไม่สามารถใช้วิธีกำไรสุทธิได้ เช่น
1) กิจการขนส่ง
ก. กรณีรับขนคนโดยสาร 3% ข. กรณีรับขนของ 3%
2) มูลนิธิหรือสมาคม
ก. เงินได้ประเภทที่ 8 2% ข. เงินได้อื่นนอกจาก ก. 10%
(3) เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ใช้ในกรณีที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในไทยแต่ได้รับเงินได้ประเภทที่ 2-6 จากประเทศไทย ให้ใช้วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย
ก. เงินประเภท 2-6 หัก 15% ข. ยกเว้นเงินปันผล หัก 10%
(4) การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ใช้ในกรณีส่งให้สำนักงานใหญ่ที่ต่างประเทศ
ให้หักออก 10%

3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้มีหน้าที่ เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจด ทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
กำหนด เวลาจดทะเบียน
1. ผู้ประกอบการต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อเริ่มประกอบกิจการ ขายสินค้าหรือให้บริการ เว้นแต่กรณีที่ ผู้ประกอบการมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการ ขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีการดำเนินการเพื่อเตรียมประกอบกิจการอันเป็น เหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน การสร้างอาคารสำนักงานหรือการติดตั้งเครื่อง จักร ให้ผู้ประกอบการมีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกำหนด 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขาย สินค้าหรือให้บริการ
2. ผู้ประกอบการที่มีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษี-มูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ) เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
หน้าที่ ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และออกใบกำกับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานในการเรียก เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่
(1) รายงานภาษีซื้อ
(2) รายงานภาษีขาย
(3) รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
3. ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.พ.30
กิจการ ที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
1. การขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ี
2. การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร เช่น ข้าว ข้าวโพด ปอ มันสำปะหลัง ผักและผลไม้
3. การขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตภายในราชอาณาจักร เช่น โค กระบือ ไก่หรือเนื้อสัตว์ กุ้ง ปลา เป็นต้น
4. การขายปุ๋ย
5. การขายปลาป่น อาหารสัตว์
6. การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษาป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
7. การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
** ผู้ ประกอบการที่ประกอบกิจการตาม 1. ถึง 7. ดังกล่าว จะเลือกเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้
8. การนำเข้าสินค้าตาม 2. ถึง 7.
9. การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
10. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ อย่างไรก็ดี หากเป็นการให้บริการขนส่งโดยอากาศยาน และการให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ ผู้ประกอบการมีสิทธิเลือกเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้
11. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศทางบกและทางเรือซึ่งมิใช่เรือเดินทะเล
12. การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน
13. การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
14. การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น
15. การให้บริการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ
16. การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ
17. การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรม ในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
18. การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการตามที่กรมสรรพากรกำหนด คือ ต้องเป็นการวิจัยหรือบริการทางวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาสังคมศาสตร์ แต่ต้องมิใช่เป็นการกระทำในทางธุรกิจ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือมูลนิธิ
19. การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
20. การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
21. การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ไม่รวมถึงบริการที่เป็นการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นการหารายได้ หรือผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นกิจการสาธารณูปโภคหรือไม่ก็ตาม
22. การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย
23. การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น
24. การขายสินค้า หรือการให้บริการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น